วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

10 อันดับกาแฟจากทั่วทุกมุมโลกที่ควรลิ้มลอง


1. เอสเพรสโซ (Espresso)

          ด้วยความเข้มข้นเข้าถึงรสชาติของกาแฟแท้ ๆ อย่างเอสเพรสโซ จึงทำให้กาแฟชนิดนี้ครองแชมป์อันดับหนึ่งมาได้อย่างสบาย ๆ ตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นมาในยุค 80 และเป็นที่นิยมไปทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศอิตาลี และในทวีปยุโรป ซึ่งในสมัยนั้นกาแฟเอสเพรสโซฉบับต้นตำรับจะมีรสชาติเข้มสุด ๆ เต็มไปด้วยรสชาติของกาแฟแท้ กลิ่นหอม ๆ และถึงแม้ทุกวันนี้เอสเพรสโซจะมีรสชาติเพี้ยนไปบ้างตามแต่ละประเทศจะนำไปดัดแปลง แต่ก็ยังคงยืนพื้นความเข้มข้น จนคอกาแฟดำทั้งหลายติดใจไม่รู้ลืม

2. กาเฟโอเล (Cafe au lait)

          กาเฟโอเล (Cafe au lait) เป็นกาแฟผสมนมของประเทศฝรั่งเศสที่ได้รับคำร่ำลือว่าเป็นกาแฟที่มีรสชาติดีที่สุดอีกชนิดหนึ่ง ทีเด็ดก็คือเมล็ดกาแฟคุณภาพเยี่ยมที่หาใครเทียบได้ยาก โดยวิธีชงที่จะทำให้ได้ลิ้มรสกาแฟชั้นหนึ่ง ให้นำเมล็ดกาแฟใส่ภาชนะที่มีฝาปิด และแช่ด้วยน้ำเดือดจัด 5 นาที จากนั้นก็นำไปใส่เครื่องชงกาแฟตามปกติ เมื่อได้กาแฟมาแล้วก็เติมนมและน้ำตาลตามใจชอบได้เลยค่ะ

3. แฟรปปูชิโน (Frappuccino)

         ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นคนคิดค้นกาแฟสูตรนี้ขึ้นมา โดยไอเดียสร้างสรรค์ที่นำคาปูชิโน (Cappuccino) ของประเทศอิตาเลียนมาปั่นรวมกับกาแฟแบบกรีก (Greek Frappe) จึงทำให้เกิดแฟรปปูชิโนขึ้นมาให้คอกาแฟทุกคนได้ลิ้มลอง และด้วยรสชาติที่ใครได้ดื่มก็ต้องติดใจ จึงทำให้แฟรปปูชิโนเป็นกาแฟยอดนิยมถึงขั้นเป็นเมนูติดอันดับของร้านกาแฟชื่อดังเลยทีเดียว โชคดีนะคะที่บ้านเราก็มีร้านกาแฟนี้กับเขาด้วย ไม่เช่นนั้นก็คงต้องบินไปลิ้มลองกันไกลถึงประเทศสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว

4. กาแฟแบบกรีกและตุรกี (Greek-Turkish Coffee)

        เป็นการผสมผสานกันได้อย่างลงตัวที่สุดเลยก็ว่าได้กับสูตรกาแฟที่ประเทศกรีก และตุรกีที่ได้คิดค้นร่วมกัน โดยการนำเอากาแฟสูตรต้นตำรับของทั้งสองประเทศมาผสมกัน กาแฟสูตรนี้อาจจะมีรสชาติที่อ่อนกว่ากาแฟทั้ง 3 สูตรก่อนหน้านี้ แต่ก็มีเสน่ห์ตรงกลิ่นหอมของกาแฟคั่วบด และมีกลิ่นอายความเข้มของกาแฟเอสเพรสโซที่ใส่เข้าไปนิดหน่อย และความข้นของกาแฟจากกากเมล็ดกาแฟคั่วที่ก้นถ้วย

5. คาปูชิโน (Cappuccino)

         คาปูชิโนเป็นกาแฟยอดฮิตของประเทศอิตาลี เป็นที่นิยมจนถูกเรียกว่าเครื่องดื่มประจำประเทศกันเลยก็ว่าได้ ส่วนมากมักนิยมดื่มเป็นกาแฟร้อน บรรจุแก้วกระดาษ หรือแก้วมีหู โดยปกติแล้วคาปูชิโนจะเป็นกาแฟที่ผสมเอสเพรสโซ นมร้อน และฟองนม เหตุผลที่มีฟองนมก็เพื่อให้รักษาความร้อนของกาแฟให้ร้อนนานขึ้นนั่นเอง

6. แฟรปเป้ (Frappe)
         สำหรับคอกาแฟที่นิยมดื่มกาแฟแบบเย็นมากกว่าแบบร้อน ก็ต้องชอบกาแฟจากประเทศกรีกแก้วนี้แน่ ๆ เพราะเป็นกาแฟปั่นที่ใส่วิปปิ้งครีมเพิ่มความมันเข้าไปจนมีรสชาติกลมกล่อม ถูกอกถูกใจชาวกรีกเกือบทั้งประเทศ และยังลามมาฮิตในประเทศอื่น ๆ อีกด้วย

7. กาแฟไอริช (Irish Coffee)

          กาแฟไอริช หรือเหล้ากาแฟสูตรนี้มีหลากหลายสูตรจนคนสับสนกันไปหมด แต่จริง ๆ แล้วถ้าจะให้ชงเหมือนต้นตำรับเป๊ะ ๆ ต้องใส่น้ำตาลทรายแดงที่ก้นถ้วย ต่อด้วยวิสกี้อีก 1 ช็อต จากนั้นก็เติมกาแฟดำลงไป ตบท้ายด้วยวิปปิ้งครีม หรือฟองนมด้านบนแก้ว เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ลิ้มรสชาติเหล้ากาแฟเหมือนได้บินไปดื่มถึงถิ่นเขาเลยล่ะ

8. กาแฟสไตล์เวียดนาม (Vietnamese Iced Coffee)

          กาแฟสไตล์เวียดนามเพื่อนบ้านของเราก็อร่อยเด็ดใช่ย่อยเช่นกัน แต่ชาวเวียดนามจะเรียกว่า Ca phe sua da สูตรนี้จะมีรสชาติหวานมันนำรสกาแฟ เพราะได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศส จึงทำให้ชาวเวียดนามดื่มกาแฟผสมนมได้อย่างคุ้นลิ้น แต่หากใครไม่คุ้นกับการดื่มกาแฟผสมนมหวาน ๆ มัน ๆ ก็คงขยาดสักหน่อยนะคะ เพราะแก้วนี้ใส่นมกว่าครึ่งแก้ว แถมด้วยวิปครีมหรือฟองนมด้านบนแก้วอีกด้วยจ้า

9. กาแฟมาร็อกชิโน (Caffe Marocchino)

          แม้ว่าชื่อกาแฟสูตรนี้จะคล้าย ๆ ชื่อประเทศโมรอคโค แต่จริง ๆ แล้วเป็นกาแฟจากประเทศอิตาลีต่างหาก โดยกาแฟร้อนแก้วนี้เป็นส่วนผสมจากผงโกโก้ เอสเพรสโซ และฟองนม แต่ถึงแม้จะมีเอสเพรสโซผสมอยู่ด้วย แต่รสชาติของมันกลับจะออกหวานมัน และมีรสกาแฟค่อนข้างอ่อน เนื่องจากมีผงโกโก้ผสมอยู่ด้วยนั่นเอง ดังนั้นกาแฟแก้วนี้จึงเหมาะกับคนที่ชื่นชอบกาแฟรสนุ่มละมุนลิ้นมากกว่าคอกาแฟตัวจริงนะคะ

10. กาแฟใส่นม (Coffee Milk)

          กาแฟใส่นมมีต้นกำเนิดจากรัฐโรด ไอส์แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งรสชาติจะออกหวานมันนุ่มลิ้นมากกว่ากาแฟสูตรอื่น ๆ ในสหรัฐ แต่คอกาแฟตัวจริงหลายคนก็อาจจะไม่ค่อยนิยมกาแฟใส่นมเท่าไรนัก เพราะรสชาติจะออกคล้าย ๆ กับช็อกโกแลตร้อนใส่นมและครีมมากกว่า แต่กับชาวไทย กาแฟใส่นมคงเป็นกาแฟแก้วโปรดของใครหลายคนจริงไหมคะ ยิ่งถ้าเป็นกาแฟเย็นด้วยล่ะก็ จะยิ่งฟินคูณสองกันไปเลยเนอะ

ที่มา: http://cooking.kapook.com/view75035.html
5 ประโยชน์ความงามจากกากกาแฟ



กากกาแฟ (Ground coffee) คือเศษผงของกาแฟคั่วบด ที่เหลือจากการนำไปเค้นเอาน้ำไว้ชง ซึ่งสาวๆ สามารถหาได้ทั่วไปตามร้านกาแฟสด 
1.มาร์กหน้า: ผสมกากกาแฟกับโยเกิร์ต หรือน้ำผึ้ง หรือไข่ขาว (แล้วแต่ตัวเลือกที่คุณชอบ) คนกากกาแฟกับส่วนผสมให้เข้ากัน ทาทั่วใบหน้าแล้วทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที ล้างออกด้วยน้ำอุ่น
 
2.บรรเทาอาการอ่อนล้าที่ดวงตา: นำถุงผ้าขนาดเล็กห่อกากกาแฟ รัดให้เป็นถุงแล้วนำไปแช่จนเย็นตัว โปะไปรอบๆ ดวงตา นั่งหรือนอนพักสายตาประมาณ 20 นาที 

3.ขัดผิว: ระหว่างที่อาบน้ำใช้กากกาแฟเล็กน้อยขัดถูแขนขาให้ทั่ว (เหมือนทาโลชั่น) ซึ่งการนวดด้วยกากกาแฟทุกวัน หรือประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ตรงบริเวณที่มีเซลลูไลท์สะสมมากๆ กากกาแฟจะช่วยให้ผิวเปลือกส้มค่อยๆ จางหายไป 
นอกจากนี้ยังทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งขึ้น หากขัดผิวทุกวันด้วยกากกาแฟ 2 ช้อนโต๊ะ กับขี้ผึ้ง โจโจ้บาออย์ หรือน้ำมันมะกอกเพียง 2-3 ช้อนโต๊ะ หรือหยดด้วยน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบลงไปอีก 2-3 หยด 

4.หมักผม: ผสมกากกาแฟประมาณ 2 ช้อนโต๊ะกับยาสระผมที่ใช้ประจำ หรือจะใช้ร่วมกับการหมักครีมคอนดิชั่นเนอร์ก็ได้ แล้วคลุมด้วยหมวกอาบน้ำ หรือผ้าขนหนูประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ผมจะแลดูเงางาม สีผมดูเข้มขึ้นกว่าเดิม

5. ลดสัดส่วน: การขัดผิวด้วยกากกาแฟก่อนอบไอน้ำผิว หรือการอยู่ในห้องที่ร้อนเป็นเวลาประมาณ 30 นาที (อาจอยู่ในห้องน้ำเต็มไปด้วยไอน้ำร้อนจัดก็ได้) วิธีนี้จะช่วยลดสัดส่วนได้ถึง 5-10 นิ้วในเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งควรวัดสัดส่วนบริเวณที่จะลดก่อน เพื่อเช็คดูสัดส่วนที่ลดลง 
5 สารพันความงามที่ “ชา” ช่วยได้

1. ขจัดกลิ่นบริเวณรักแร้และเท้า ใช้ถุงชาเปียกที่ใช้แล้วถูบริเวณรักแร้ และหากมีปัญหากลิ่นเท้า ให้นำถุงชา 1-2 ถุงแช่ในน้ำอุ่น แล้วแช่ฝ่าเท้าในน้ำนั้น ชาจะช่วยกำจัดแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์เมื่อเวลาต่อมเหงื่อผลิตเหงื่อออกมา

2.ช่วยให้ผิวเรียบตึง โดยนำถุงชาที่เก็บไว้ในตู้เย็นตลอด 1 อาทิตย์ (อาจมากกว่า 3 ถุงก็ได้) หย่อนใส่ลงในอ่างอาบน้ำ น้ำชาที่ได้จะช่วยต้านริ้วรอย ทำให้ผิวเรียบสม่ำเสมอกันทุกจุด 

3. ช่วยฟื้นฟูผิวที่ไหม้เกรียม ใช้ถุงชาที่แช่เย็นถูผิวตรงบริเวณที่เกรียมแดด 

4. ช่วยให้รอยดำใต้ตาจางลง ลองใช้ถุงชาที่แช่เย็นแปะไว้ใต้ดวงตาประมาณ 15 นาที ในทุกๆ เช้า 

5. แก้ปัญหาในช่องปาก แช่ถุงชาในน้ำเย็นแล้วประคบบริเวณที่เลือดออกเพราะฟันหลุด หรือชงชากลิ่นเปปเปอร์มินท์ใช้กลั้วปากเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน



ที่มา: 
https://www.facebook.com/kincafegroup/posts/466264260116400

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

กาแฟเพื่อสุขภาพดีรักษาโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง



กาแฟ รักษาโรค ( กาแฟ + น้ำร้อน )

1. กาแฟ กับ โรคเบาหวาน

สรรพคุณ เมล็ด ลดน้ำตาลในเลือด กระตุ้นประสาทส่วนกลาง
กระตุ้นหัวใจ กระตุ้นไต ขับปัสสาวะ กระตุ้นกล้ามเนื้อ

วิธีใช้ นำเมล็ดที่คั่วแล้ว มาชงกับน้ำร้อน เป็นเครื่องดื่ม
รับประทานมาก ทำให้ใจสั่น นอนไม่หลับ และท้องผูก 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ล่อแมลง ลดน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ยับยั้งการเพิ่มน้ำหนัก กระตุ้นatanine aminotransferaseลอครีเอดีนีน ยับยั้ง r glutamyltransferase เพิ่มคอเลสเตอรอลในเลือด มีฤทธิ์เหมือน juvenile มีฤทธิ์ก่อการกลายพันธุ์ 

รายงานผลการทดลอง ในปี คศ.1994 ประเทศอินเดียมีรายงานผลการทดลอง สารสกัดจาดเมล็ดกาแฟต่อผลเมตะบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และผลการทดลองระดับน้ำตาลในเลือดของกาแฟ ผลการทดลองพบว่า กาแฟสามารถ ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
ขอบคุณ ข้อมูลจากหนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน โดย อาจารย์จุไรรัตน์เกิดดอนแฝก เภสัชกรหญิง 8 วช.ฝ่ายวิชาการกองเภสัชกรรมสำนักอนามัยกทม.ทุ่งสองห้อง



2. กาแฟ กับ โรคความดันโลหิตสูง
สารสำคัญ ในเมล็ดกาแฟ
มี caffeine , trigonellin , tanin ,glucose, dextrinไขมัน และโปรตีน ความหอมของกาแฟนั้น
เนื่องจาก essential oil caffeol เก็บไว้นานจะหืน
กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิบมจากประชากรโลก รองมาจากใบชา

สรรพคุณ เมล็ด รสขม บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ ชูกำลัง ลดความดันโลหิต
แก้อ่อนเพลีย กระตุ้นประสาทส่วนกลาง กระตุ้นหัวใจ ไต และกล้ามเนื้อ
ขับปัสสาวะ แก้พิษที่ไปกดประสาทส่วนกลาง
ถ้ารับประทานมากจะใจสั่น นอนไม่หลับ ท้องผูก

ส่วนที่ใช้ เมล็ด
วิธีใช้ นำเมล็ดที่คั่วแล้วมาชงกับน้ำร้อน
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ลดความดันโลหิตสูง เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ เพิ่มการขับถ่าย uric acid ทางปัสสาวะ

ผลการทดลอง ในญี่ปุ่นปี ค.ศ.2002 ลดความดันโลหิตได้จริง

( ขอบคุณ ข้อมูลจากหนังสือสมุนไพร ลดความดันโลหิตสูง121ชนิด โดย เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก)
ที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/323273

กระบวนการผลิตกาแฟผงสำเร็จรูป



การสกัดของแข็ง 

         การสกัดของแข็งที่ละลายน้ำได้ของกาแฟ จะใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย การสกัดจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสารละลายมีความเข้มข้นประมาณ 15 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ w/w การสกัดนิยมทำที่อุณหภูมิ 175 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส จะส่งผลทำให้ปริมาณของแข็งที่สกัดได้แห้งยาก การสกัดของแข็งที่ละลายได้มี 3 วิธีด้วยกัน คือ

         -  (Percolation Batters) เป็นวิธีการที่ใช้กันทั่วไป โดยนำกาแฟที่คั่วบรรจุในภาชนะ จากนั้นจะผ่านน้ำร้อนเข้าไปสกัดของแข็งที่ละลายน้ำในกาแฟ น้ำกาแฟจะถูกปล่อยออกไป แล้วภาชนะอันใหม่จะเข้ามาแทนที่ภาชนะเดิม อุณหภูมิที่ใช้ในการสกัดอยู่ที่ 175 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดันสารละลายที่ได้จะมีความเข้มข้นประมาณ 15 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักต่อน้ำหนักเข้าสู่กระบวนการทำแห้งต่อไป

         - ระบบการไหลสวนทาง (Countercurrent System) กาแฟจะถูกผ่านเข้าสู่ภาชนะควบคุมอุณหภูมิ รูปทรงกลมอย่างต่อเนื่องและจะถูกนำขึ้นด้านบนด้วยสกรูเกลียวที่มีรอบการหมุนจำนวน 10 ถึง 22 รอบต่อชั่วโมง และน้ำร้อนจะเข้ามาทางด้านบนเพื่อสกัดของแข็งที่ละลายน้ำได้ในกาแฟ จากนั้นน้ำกาแฟที่ได้ จะปล่อยออกทางด้านล่าง การทำงานของระบบต้องใช้ความดันและอุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส

         - (Slurry Extraction) กาแฟและน้ำจะถูกกวนเข้าด้วยกันในแทงค์  และจะแยกออกจากกันโดยการหมุนเหวี่ยง ซึ่งเครื่องจักรสำหรับกระบวนการนี้มีราคาค่อนข้างแพงมาก


การทำแห้ง (Drying)

         น้ำกาแฟที่ได้สามารถทำให้แห้งโดยใช้เครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย เครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งหรือเครื่องทำแห้งแบบลูกกลิ้ง และเครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย (Spray Drying)

         - การทำแห้งแบบพ่นฝอย  เป็นการทำให้น้ำกาแฟเกิดเป็นละอองเล็กขนาดหยดน้ำ (เส้นผ่านศูนย์กลาง 100 ถึง 200 ไมโครเมตร) ในกระแสลมร้อนที่ไหลในทิศทางเดียวกัน (150 ถึง 300 องศาเซลเซียส) ในถังทำแห้งขนาดใหญ่ กาแฟแห้งที่ได้จะถูกแยกออกไปโดยการใช้ Centrifugal Atomizer ส่วนของเหลวจะถูกส่งไปยังภาชนะหมุนเพื่อสร้างขนาดของหยดสารละลายใหม่ในการสเปรย์  ผลกาแฟที่แห้งแล้วจะนำออกโดยการใช้สายพานลำเลียงแบบสกรูเกลียวหรือระบบนิวเมติก

         - การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze drying) เป็นการทำแห้งโดยการทำให้ของแข็งกลายเป็นไอโดยไม่ละลาย หรือเรียกว่า การระเหิด โดยน้ำกาแฟจะถูกทำให้แข็งอย่างช้าๆ ในอุปกรณ์แช่แข็งทั่วไป จากนั้นจึงทำการระเหิดภายใต้ความดัน 610PA และเกิดความร้อนโดยไอที่เกิดขึ้นจะถูกดูดกลับไปควบแน่นในคอยล์เย็น การทำแห้งขั้นสุดท้ายจะรวมถึงการทำแห้งแบบระเหยด้วย  กาแฟจำเป็นที่จะต้องอยู่ในสภาพที่คล้ายโฟมเพื่อป้องกันการเกิดผลึกคล้ายแก้วของวัตถุดิบที่แช่แข็ง

         - การทำแห้งแบบลูกกลิ้ง (Drum Drying) การทำแห้งแบบนี้ไม่เป็นที่นิยมนักในขณะนี้  เนื่องจากการทำแห้งจะทำให้น้ำกาแฟต้องสัมผัสกับลูกกลิ้งรูปทรงกระบอกที่ร้อนจัด


ขั้นตอนการผลิตกาแฟกึ่งสำเร็จรูป



ขั้นตอนการผลิตกาแฟสำเร็จรูป




ขั้นตอนการผลิตกาแฟกึ่งสำเร็จรูป


ขั้นตอนที่ 1 การคัดและเก็บรักษาเมล้ดกาแฟ (Green Bean Cleaning & Storage)  คือเมล็ดกาแฟที่ถูกกะเทาะเปลือกเรียบร้อยแล้ว เก็บไว้ใน Bin สำหรับเก็บเมล็ดกาแฟที่ควบคุมความชื้น และอยู่ในที่อุณหภูมิที่ต่ำ จะถูกนำมาทำความสะอาด โดยการใช้เครื่อง Spray Drying เป่า เพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออกจากเมล็ด

ขั้นตอนที่ 2 การผสมกาแฟ (Blending) คือการนำกาแฟพันธุ์ต่างๆ มาผสมกันตามสูตรเฉพาะ เพื่อให้ได้กาแฟที่ต้องการในเครื่องผสม

เครื่อง Blending


ขั้นตอนที่ 3 การคั่ว (Roasting)  การคั่วเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการผลิตกาแฟ โดยกลิ่นรสสุดท้ายของกาแฟจะขึ้นกับวิธีการคั่ว ตลอดจนสภาวะที่ใช้คั่ว โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมในการคั่วอยู่ที่ประมาณ 200 องศาเซลเซียส

เครื่อง Roasting

ขั้นตอนที่ 4 การบด (Grinding) การบดมีลักษณะดังนี้คือ



1) แบบหยาบ
2) แบบหยาบปานกลาง
3) แบบละเอียด
4) แบบละเอียดมากโดยใช้เครื่องบดมาตรฐานเรียกว่า motorizedgrinders  








เครื่อง Girnding

ขั้นตอนที่ การแยกสารที่ให้กลิ่นหอม (Aroma Recovery)  เป็นการถนอมกลิ่นกาแฟไม่ให้สูญเสียไปกับกระบวนการผลิตและให้สภาพของกลิ่นคงความหอมและสดใหม่อยู่เสมอ
เครื่อง Aroma Recovery

ขั้นตอนที่ 6  การสกัดเมล็ดกาแฟ (Extraction) กาแฟจะถูกผ่านเข้าสู่ภาชนะที่ควบคุมอุณหภูมิรูปทรงกลมอย่างต่อเนื่อง และจะถูกขนขึ้นด้านบนด้วยสกรูเกลียวที่มีรอบการหมุน 10 ถึง 22 รอบต่อชั่วโมง และน้ำร้อนจะเข้ามาทางด้านบน เพื่อสกัดของแข็งที่ละลายน้ำได้ในกาแฟ จากนั้นน้ำกาแฟที่ได้จะปล่อยออกทางด้านล่าง การทำงานของระบบต้องใช้ความดันและอุณหภูมิประมาณ 180 องศาเซลเซียส

ขั้นตอนที่ 7  การระเหยน้ำ (Evaporation) เป็นกระบวนการสกัดความชื้นของเมล็ดกาแฟ โดยมีการปรับอุณหภูมิของตัวเครื่อง เพื่อให้ความร้อนระเหยออกมาเป็นไอ สกัดความชื้นให้เมล็ดกาแฟแห้ง หากเมล็ดกาแฟมีความชื้นจะทำให้เกิดเชื้อรา จะไม่สามารถนำมาใช้ในการผลิตได้ เพราะเมล็ดกาแฟหมดคุณภาพ

ขั้นตอนที่ 8  การฉีดสารที่ให้กลิ่นหอม (Aroma Recovery)  หลังจากการระเหยน้ำ จะทำการฉีดสารที่ให้กลิ่นหอมกลับเข้ามา เพื่อคืนสภาพของกลิ่นให้กลับมาคงความหอมและสดใหม่อยู่เสมอ

ขั้นตอนที่ 9  การวัดค่ามาตรฐาน (Standardization) เป็นการวัดความเข้มข้นของกาแฟให้ได้มาตรฐานตามที่ต้องการ

ขั้นตอนที่ 10  การทำแห้ง (Drying) การทำแห้งแบบพ่นฝอย เป็นการทำให้น้ำกาแฟเกิดเป็นละอองขนาดเล็กขนาดหยดน้ำในกระแสลมร้อนที่ไหลในทิศทางเดียวกัน ในถังทำแห้งขนาดใหญ่  กาแฟแห้งที่ได้จะถูกแยกออกไปโดยการใช้ Centrifugal Atomizer ส่วนของเหลวจะถูกส่งไปยังภาชนะหมุน เพื่อสร้างขนาดของหยดสาร ละลายใหม่ในการสเปรย์

ขั้นตอนที่ 11  การบรรจุภัณฑ์ (Filling & Packing) เมื่อได้กาแฟผงสำเร็จรูปก็จะนำเข้าสู่กระบวนการบรรจุภัณฑ์ โดยใช้เครื่องมือในการบรรจุภัณฑ์ หลังจากนั้นก็จะทำการบรรจุลงหีบห่อและขนย้ายไปยังโกดังพักสินค้า เพื่อรอการขนส่งต่อไป

ที่มา : http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/coffee/used/01-02.php

ประเภทของกาแฟ



  • เอสเพรสโซ คือ กาแฟที่ถูกเตรียม ด้วยเครื่องเอสเปรสโซ แมชีน และใช้กาแฟคั่วระดับที่ เข้ม บดละเอียดให้รสชาติเข้มข้น นิยมใช้กาแฟอราบิก้า จะเสริฟในถ้วยขนาดเล็กไม่เกิน 1.5 ออนซ์ ซึ่งกาแฟเอสเปรสโซ่จะเป็นตัวเบสพื้นฐาน ในการชงกาแฟอื่น ๆ

  • กาแฟอเมริกันโน่ คือ กาแฟ เอสเพรสโซ + น้ำร้อน

  • กาแฟลาเต้ คือ กาแฟเอสเพรสเข้มข้นประมาณ 1.5 ออนซ์ + นมร้อน ประมาณ 6 ออนซ์และแต่งด้วยฟองนมเล็กน้อย ด้านบน รสชาติจะหอมละมุ่นด้วยกลิ่นนมและกาแฟ

  • กาแฟคาปุชิโน่ คือ กาแฟเอสเพรสโซ + นมร้อน 1 ส่วน และฟองนม 1 ส่วน และนิยมโรยหน้าด้วยผงซิเนม่อนหรือผงช็อคโกแลต

  • กาแฟมอคค่า คือ เอสเพรสโซ่ น้ำเชื่อมช็อคโกแลต นมร้อน และปิดหน้าด้วย วิปปิ้งครีม แต่งหน้าด้วยผงช็อคโกแลต

  • กาแฟเฟรนเพรส คือ การชงกาแฟด้วยแก้ว French Press เวลา ดื่มจะต้องกดก้านกรองของแก้วลงก้านตะแกรงกรองจะแยกชั้นระหว่างน้ำกาแฟและผง กาแฟ ซึ่งวิธีการชงแบบนี้จะพบได้ตามร้านอาหาร โฮมเมท ตามสุขุมวิทหรือสีลม
ที่มา :http://www.vppcoffee.com/knowledge/type-coffee/